หลวงปู่มั่น
วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554
รู้จักความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (อาหารและสุขภาพ)
Amilee Christine Huges ค้นพบว่าการทำงานผิดปกติของต่อมไทรอยด์อาจมีสาเหตุบางอย่างซ่อนเร้นอยู่จนทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม, อารมณ์เสีย และเหนื่อยอ่อน อย่างหาสาเหตุไม่ได้
ต่อมไทรอยด์ของคุณมีขนาดเล็กนิดเดียว-มีน้ำหนักแค่ราว ๆ 30 กรัม แต่มันเป็นหนึ่งในต่อมไร้ท่อที่สำคัญที่สุดในร่างกาย ต่อมนี้อยู่ที่บริเวณคอข้างใต้ลูกกระเดือก มีรูปร่างเหมือนผีเสื้อ ควบคุมเมตาโบลิซึ่มที่สำคัญหลายอย่าง รวมไปถึงความเร็วในการเผาผลาญพลังงาน, อัตราการเต้นของหัวใจ, และการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ
ประมาณกันว่าชาวออสเตรเลียสองล้านคนอาจเป็นโรคเกี่ยวกับไทรอยด์ แต่มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนนั้นยังไม่ได้รับการวินิจฉัย แต่อาการของต่อมไทรอยด์มักจะทำให้สับสนกับอาการของโรคอื่น ๆ นอกจากนี้บางทีการทดสอบก็ให้ผลที่ไม่แน่นอน จนเมื่อเร็ว ๆ นี้เองที่อาการต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติในระดับ "ต่ำกว่าปกติเพียงเล็กน้อยจนไร้อาการ" (Subclinical) ก็เพิ่งจะมาถือกันว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว เรื่องนี้นับว่าสำคัญมาก เพราะแม้จะเป็นสภาพผิดปกติเพียงเล็กน้อยจนไม่แสดงอาการออกมาก็อาจมีความเกี่ยวพันกับความผิดปกติอื่น ๆ เช่นโรคหัวใจได้เช่นกัน
ช้าลง-เร็วขึ้น
อาการผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่พบได้บ่อยกว่าก็คือ "ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ (hypothyroidism)" คือการขาดฮอร์โมนต่อมไทรอยด์อันเนื่องมาจากการทำงานของไทรอยด์ต่ำ หรือไม่มีต่อมไทรอยด์ สาเหตุอาจเนื่องมาจากไทรอยด์อักเสบแบบ Hashimoto’s thyroiditis ซึ่งเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune disorder) ชนิดหนึ่ง ซึ่งในตอนแรกจะไปทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ แล้วจากนั้นก็จะทำงานต่ำลงกว่าปกติเพราะต่อมถูกทำลาย เป็นผลให้ฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ถูกผลิตขึ้นมาไม่เพียงพอ
โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ Hashimoto นี้พบได้มากที่สุดในสตรีวัยกลางคน มีแนวโน้มที่จะเป็นติดต่อทางสายเลือด แล้วก็พบได้มากในผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ/หรือ โรค coeliac disease (โรคแพ้ภูมิตัวเองและไปมีผลต่อลำไส้เล็ก) โรคไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกตินี้ยังอาจมีสาเหตุมาจากไทรอยด์อักเสบหลังการมีบุตร ซึ่งมารดาที่เพิ่งมีบุตรคนแรกอาจมีอาการนี้โดยในตอนแรกต่อมไทรอยด์เกิดการอักเสบก่อนแล้วทำงานมากกว่าปกติ ตามด้วยการทำงานต่ำกว่าปกติ
ในทางตรงกันข้าม ไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ (hyperthyroidism) เกิดจากความผิดปกติที่ทำให้เนื้อเยื่อไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ ทำให้มีการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ขึ้นมามาก โรคนี้มีคนเป็นน้อยกว่าไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ แต่ก็สร้างปัญหาได้พอ ๆ กัน เป็นสาเหตุทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวแบบเลือดคั่ง (congestive heart failure) ,โรคกระดูกพรุน, และเกิดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานเต็มขั้น และมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคคอพอกตาโปน (Graves’disease) หากคิดว่าตัวคุณมีปัญหากับต่อมไทรอยด์ ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียด ในขณะที่อาการไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติอาจต้องการการรักษาด้วยฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ แต่ธรรมชาติบำบัดก็ช่วยจัดการดูแลให้ได้ และเป็นไปได้จะลดการใช้ยาลงวิธีการธรรมชาติยังใช้กับโรคไทรอยด์ทำงานสูงกว่าปกติได้ด้วย โดย
1. รับประทานธัญพืช
ทดแทนผลิตภัณฑ์จากแป้งขัดขาวด้วย ธัญพืชขัดสีน้อยที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (complex carbohydrates) เช่น quinoa, ข้าวกล้อง, บาร์ลีย์, ข้าวโอ๊ต, บั๊ควีท, ข้าวสาลี bulghur, ข้าวสาลีกับแป้งสเปลท์ (หมายเหตุ: โรคไทรอยด์ทำงานต่ำผิดปกติบางครั้งเกิดจากการแพ้กลูเต็น และกลูเต็นพบได้ในข้าวสาลี, บาร์ลีย์, และข้าวไรย์-ถ้าสงสัยว่าตัวคุณจะแพ้หรือไม่ก็ให้ไปตรวจเสีย) ให้ทดแทนน้ำตาลขาวด้วยสารให้ความหวานจากธรรมชาติ เช่น เมเปิ้ลไซรัป, น้ำผึ้ง, และ มอลลาส
2. เลิกไขมันที่เลว
หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ให้รับประทานอาหารที่อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 เช่น ปลาแซลม่อน, ปลาแมคตเคอเรล, ปลาซาร์ดีน, วอลนัท, เมล็ดแฟล็กซ์ และน้ำมันที่ดี (มะพร้าว, น้ำมันมะกอกชนิดเอ็กตร้าเวอร์จิน, เมล็ดองุ่น, อะโวคาโด้) เพื่อปรับสภาพอารมณ์ และเมตาโบลิซึ่ม และปกป้องหัวใจ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนได้รับผลกระทบจากการทำงานที่ปกติของต่อมไทรอยด์; คาดว่าสาร gamma-oryzanol ซึ่งพบในน้ำมันรำข้าว เป็นสารที่ช่วยเร่งการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์
3. หลีกเลี่ยงการยับยั้งการดูดซึมไอโอดีน (Goitrogens)
พวกนี้เป็นสารที่พบได้ในอาหารที่รบกวนการผลิตฮอร์โมนต่อมไทรอยด์โดยทำให้ปริมาณไอโอดีนในร่างกายลดลง อาหารเหล่านี้ได้แก่ผักตระกูลกะหล่ำ (เช่น บร็อคโคลี่, ผักกาด, ผักกาดใบหยิก (kale), กะหล่ำดาว (brussel sprouts), สตรอเบอรี่, ถั่วลิสง, พืช, ข้าวฟ่าง, แรดิช, และผักพวยเล้ง เนื่องจากความร้อนสามารถทำลาย goitorgens ได้ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเหล่านี้แบบดิบๆ; ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ป่วยด้วยโรคไทรอยด์ทำงานมากเกินไปก็ควรรับประทานอาหารเหล่านี้แบบดิบๆ รูปแบบบางอย่างของถั่วเหลืองก็คาดว่ามีคุณสมบัติ goitrogenic เช่นกัน เช่น ถั่วเหลืองหมักอย่างเช่น เทมเป้ ดูจะมีคุณสมบัติอย่างนี้มากกว่าถั่วที่นำมาต้มให้สุก
4. เพิ่มความช่วยเหลือจากสมุนไพร
การควบคุมการทำงานของต่อมอะดรีนัล อาจเป็นประโยชน์ต่อต่อมไทรอยด์รับประทานสมุนไพร ashwagandha (วันละ 50 ม.ก.), ชะเอมเทศหรือ licorice (วันละ 400 ม.ก.), rhodiola (วันละ 200 ม.ก.), และโสมไซบีเรีย หรือ Siberian ginseng (วันละ 450 ม.ก.)
5. อาหารเสริม
แร่ธาตุซีเลเนียม และสังกะสี ช่วยสุขภาพการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้รับประทานซีเลเนียม วันละ 50-100 ไมโครกรัม และสังกะสีวันละ 10-15 มิลลิกรัม ไวตามินเอ, ซี, และอี ช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์-ให้รับประทานไวตามิน เอ วันละ 2,000-4,000 หน่วยสากล (IU), ไวตามิน ซี วันละ 750-1,000 ม.ก., และไวตามิน อี วัน 200 หน่วยสากล ส่วนกลุ่มของไวตามิน บีโดยเฉพาะไวตามิน บี 1, บี 6, บี 12, และฟอลิค แอซิด
ทั้งหมดนี้ช่วยป้องกันในเรื่องอารมณ์ และปัญหาในความคิดความอ่าน ซึ่งมักจะเกิดตามมาจากโรคไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ ไวตามิน ดี 3 ก็มีความจำเป็นเช่นกัน เนื่องจากคนจำนวนมากที่ป่วยด้วยไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ มักจะมีการขาดไวตามิน ดี น้ำมันปลาก็เป็นแห่งของกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งช่วยป้องกันหัวใจและสมอง ผักที่ได้จากทะเลเช่นสาหร่ายทะเล และสไปรูไลน่าก็เป็นแหล่งไอโอดีนที่ดี ซึ่งการขาดธาตุนี้นำไปสู่การทำงานผิดปกติของต่อมไทรอยด์ หากคุณไม่ชอบพืชจากทะเลก็สามารถรับประทานอาหารเสริมไอโอดีนชนิดเม็ด โดยแนะนำให้รับประทานวันละ 150-250 ไมโครกรัม ปริมาณนี้ถือว่าช่วยสุขภาพของต่อมไทรอยด์ ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม หากได้รับไอโอดีนมากเกินไป ก็จะยิ่งทำให้ปัญหาของไทรอยด์แย่ลงไปอีก ดังนั้นให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนเพื่อหาปริมาณที่เจาะจงสำหรับท่าน
สัญญาณของไทรอยด์ผิดปกติ
ไทรอยด์ทำงานต่ำผิดปกติ (Hypothyroidism)
• อารมณ์-หดหู่, สมาธิไม่ดี, เหนื่อยอ่อน
• เส้นผมและผิวหนัง-ผมร่วง (โดยเฉพาะหางคิ้ว), ผิวแห้ง
• หัวใจ-โคเลสเตอรอลสูง
• ร่างกาย-น้ำหนักเพิ่ม, กล้ามเนื้ออ่อนแอ, เจ็บตามข้อ, บวมน้ำ (โดยเฉพาะที่มือและเท้า), เสียงแหบ, มีความรู้สึกไวต่อความเย็น
• ระบบย่อยอาหาร-ท้องผูก
• ระบบสืบพันธุ์-ความรู้สึกทางเพศต่ำ, รอบเดือนมามากผิดปกติ
ต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ (Hyperthyroidism)
• อารมณ์-กังวล, ฉุนเฉียว, นอนไม่หลับ
• เส้นผมและผิวหนัง-เหงื่อออกมากขึ้น
• หัวใจ-เต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะ
• ร่างกาย-น้ำหนักตัวลด, ตาโปน, ระคายเคืองนัยน์ตา, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, มือ และนิ้วสั่น
• ระบบย่อยอาหาร-ท้องเสีย, รู้สึกหิวบ่อยขึ้น
• ระบบสืบพันธุ์-มักจะมีรอบเดือนมาน้อย
ล้างพิษและผ่อนคลาย
กระฉับกระเฉง
การออกกำลังช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น, สุขภาพของหัวใจและเมตาโบลิซึ่ม แข็งแรง, ลดความเครียด, และเผาผลาญฮอร์โมนอะดรีนัลส่วนเกินออกไป ท่าบริหารโยคะบางอย่างเช่นยืนบนไหล่และ Camel pose ช่วยกระตุ้นต่อมไทรอยด์
ล้างสารพิษ
สารเคมีและสารพิษจากสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารเป็นผลร้ายต่อมไทรอยด์ได้ อาจให้ผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมชาติบำบัดช่วยดูแลการล้างพิษและทำความสะอาดระบบตับให้คุณเป็นเวลาสองสัปดาห์
ทำให้เหงื่อออก ทำซาวน่าเป็นประจำเพื่อให้เหงื่อนำเอาโลหะหนักออกไป หรือในการอาบน้ำล้างพิษที่บ้าน ให้ใช้ Epsom salt (เกลือแมกนีเซียมซัลเฟต หรือดีเกลือฝรั่ง) 1-2 ถ้วย, โซดาไบคาร์บอเนท (ผงฟู) 250 กรัม และน้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์ 5-10 หยดผสมลงไปในน้ำร้อนที่ใช้อาบ แล้วแช่ในน้ำนี้ 15-20 นาที
ใช้เครื่องกรองน้ำ
โลหะหนัก, คลอรีน, และฟลูออไรด์ที่พบในน้ำที่ไม่ผ่านการกรองอาจรบกวนการดูดซึมไอโอดีนได้
ทำอารมณ์ให้เย็น
ทั้งการทำสมาธิ, บริหารการหายใจ, และการบำบัดด้วยกลิ่นหอม เหล่านี้ช่วยลดความเครียดของอะดรีนัล รักษาตัวเองด้วยการนวดอย่างสม่ำเสมอและนอนหลับคืนละแปดชั่วโมง ออกเดินเล่นเป็นระยะทางไกล ๆ ท่ามกลางธรรมชาติ, อ่านหนังสือที่มีประโยชน์, และให้เวลากับตัวเองทุก ๆ วัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น